เกริ่นนำ

........สวัสดีค่ะ..ยินดีต้อนรับสู่ท่านที่มาชมบล็อกของดิฉัน...ซึ่้งเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาความเป็นครูเพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน..ปีการศึกษา2558..โดยผสมผสานระหหว่างการเรียนรู้ใน้องเรียนปกติกับบล็อกเกอร์มีความสะดวกสบาย..ทำให้ได้ข้อมูลความรู้อย่างกว้างไกล...หวังว่าbloggerนี้จะมีประโยชย์กับผู้ชมไม่มากก็น้อย

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติและพัฒนาการฝึกหัดครู

ความเป็นครู
ครู คือ บุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน





อ้างอิงจาก  http://gunrapree.com/mteacher.html

การฝึกหัดครู

ประวัติการฝึกหัดครู


คณะครุศาสตร์ทำหน้าที่ผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา พร้อมทั้งให้การฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ จึงถือได้ว่าเป็นคณะที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 ณ บริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นได้ย้ายสถานที่ตั้งไปหลายแห่ง จนกระทั่งวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้ย้ายมาอยู่ ณ เลขที่ 3 หมู่ 6 ตำบลอนุสาวรีย์ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร" ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ได้รับการยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครูพระนคร" และเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ โดยแบ่งส่วนราชการการบริหารทางวิชาการเป็นหมวดวิชาต่างๆ และในปี พ.ศ. 2512 ได้เปิดสอนในวิชาเอกต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งหมวดวิชาการศึกษารับผิดชอบจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาทั้งหมด ต่อมาปี พ.ศ. 2518 มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูบังคับใช้ วิทยาลัยครูพระนคร จึงเปิดสอนระดับปริญญาตรีครุศาสตร์ (ค.บ.) และมีการแบ่งหน่วยงานการบริหารทางวิชาการเป็นคณะวิชา หมวดวิชาการศึกษาจึงเป็นเปลี่ยนเป็นคณะวิชาครุศาสตร์ มีหัวหน้าคณะวิชาเป็นผู้รับผิดชอบ ในการบริหารงาน

อ้างอิงจาก  https://th.wikipedia.org/wiki

การพัฒนาครูในศตวรรษใหม่


จากการประมวลแนวทางและนวัตกรรมครูที่ดีจะถูกเน้นหนักมากในปัจจุบัน มีสาระสำคัญ 5 ประการคือ

1.  การสร้างระบบครูผู้เชี่ยวชาญเป็น Coach ประกบตัวฝึกปฏิบัติให้ครู เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างครูผู้มีประสบการณ์กับเพื่อนครูในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาหารือ (Coaching &Mentoring) จึงกลายเป็นกลไกและวิธีการสำคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน

2.การผสมผสานกระบวนการวัดผลเข้ากับกระบวนการสอนอย่างแนบแน่นปรับให้ยืดหยุ่นหลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัดโดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย 

3.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาครูเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ Web-Based Training ต่างๆและเพื่อ “จัดการความรู้” ระหว่างครูด้วยกัน

4.การเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่ “โรงเรียนเรียนรู้ครูนักวิจัย” จากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น“องค์กรการเรียนรู้” ที่เน้นให้ครู
“เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกัน” มากยิ่งขึ้น 

5.ยุทธศาสตร์“การสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟพลังครู” (Motivation& Inspiration) เน้นการค้นหาและหนุนเสริม“ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้” ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคำถามดีๆ
เชื่อมโยงประเด็นสำคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มากแนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครูผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคำถามดลใจ อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป 

อ้างอิงจาก  http://www.ramajitti.com/info_point.php